Wednesday 17 October 2012

เที่ยวกรุงเทพ ช้อปปิ้งโบ๊เบ๊


โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ k.j และ คุณ laser

          เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า โบ๊เบ๊ หรือ ตลาดโบ๊เบ๊ คือสถานที่ขายส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีราคาถูกแสนถูก แถมยังใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครอีก รวมทั้งมีสินค้าให้เลือกซื้อตั้งแต่สากเบือยันเรือรบ วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะชวนเพื่อน ๆ ไปเดินเล่นเพื่อทำความรู้จักกับ โบ๊เบ๊ กันอีกสักนิด เพราะนอกจากแหล่งช้อปปิ้งแล้ว โบ๊เบ๊ ยังมีทั้งของกินอร่อย ๆ ให้ได้ชิมกันอีกเพียบ

          โบ๊เบ๊ หรือ ตลาดโบ๊เบ๊ ตั้งอยู่ย่านคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงระหว่างสะพานกษัตริย์ศึกกับตลาดมหานาค เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณข้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ด้านริมทางรถไฟ ซึ่งการค้าผ้าใน ตลาดโบ๊เบ๊ ระยะเริ่มแรกมีลักษณะแบกับดิน 

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊



โบ๊เบ๊

          ต่อมามีจำนวนพ่อค้าแม่ค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ ตลาดโบ๊เบ๊ เริ่มคึกคักและเป็นที่รู้จักมากขึ้น วัดบรมนิวาส (พื้นที่บริเวณโบ๊เบ๊เป็นของวัด) จึงได้มอบหมายให้คนไทยเชื้อสายอิสลาม เข้ามาเป็นผู้ที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อย และจัดเก็บผลประโยชน์ให้กับทางวัด ซึ่งกิจการของตลาดโบ๊เบ๊ ก็ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากแบกับดินมาเป็นแผงลอย และเปลี่ยนแปลงแผงลอยมาเป็นอาคารพาณิชย์ในที่สุด

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

โบ๊เบ๊

          โบ๊เบ๊ ขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งแบบขายส่งและขายปลีก เสื้อผ้าส่วนใหญ่จะขายกันเป็นลักษณะยกโหล มีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ กางเกง รองเท้า ชุดนอน ชุดเด็ก ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน ฯลฯ ทั้งนี้ โบ๊เบ๊ ที่เป็นแผงลอยคือ ซอยพานิชโบ๊เบ๊ สะพาน 1, ซอยอาภรณ์โบ๊เบ๊ สะพาน 2, ตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน 3, ตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน 4, โบ๊เบ๊ สะพาน 5 และ ตลาดโบ๊เบ๊เซ็นเตอร์ จะเปิดขายตั้งแต่เวลา 03.00 - 16.00 น. ส่วนภายในตึก โบ๊เบ๊ ทาวเวอร์ จะเปิดขายทุกวัน เวลา 11.00 – 18.00 น. (วันเสาร์-อาทิตย์เปิดขายถึง 12.00 น.)

ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเจ๊เฮียง

          ช้อปปิ้งกันมาเหนื่อย ๆ ก็ถึงเวลาหาอะไรอร่อย ๆ รับประทานซะหน่อย ซึ่งถ้ามา โบ๊เบ๊ ไม่ควรพลาดที่จะไปชิม ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเจ๊เฮียง หรือ ก๋วยเตี๋ยวราชา ตั้งอยู่ในตลาดสดโบ๊เบ๊ ที่รสชาติอร่อยจนชาวต่างชาติยังติดใจ เพราะเจ๊เฮียงทำเองหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลูกชิ้นปลา หมูกรอบ ฯลฯ แต่เวลาขายเอาแน่เอานอนไม่ได้นะ ไปสาย ๆ หน่อยจะดีมาก ^^ 

          อีกร้านที่แนะนำคือ ข้าวขาหมูเจ๊มะลิ ตั้งอยู่ในตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน 4 เปิดขายมานานกว่า 30 ปี เพราะ ขาหมูเจ๊มะลิ รสชาติจะออกเค็มและจัดจ้าน เนื้อหมูนุ่ม และหอมด้วยกลิ่นเหล้าจีนเล็ก ๆ ส่วนผักดองกินแกล้มก็เป็นผักกาดดองเกลืออย่างดี รวมถึงเต้าหู้นิ่มเคี้ยวง่าย เปิดขายตั้งแต่เวลา 06.00 – 13.30 น. ทุกวัน และ ร้านอั้งหมูแดง หมูกรอบ ตั้งอยู่บริเวณตรงข้าม ตลาดโบ๊เบ๊ สะพาน2 ถนนกรุงเกษม หัวมุมปากทางเข้าโบ๊เบ๊เซนเตอร์ มีข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง หมูกรอบหอมน่ากิน อร่อยจนน่าประทับใจ ที่สำคัญไม่แข็งจนเกินไป เคี้ยวง่าย 

โบ๊เบ๊


ขอบคุณ kapook.com

Thursday 4 October 2012

สนามหลวงวันนี้


สนามหลวงวันนี้
กรุงเทพฯ .มหานครในดวงใจผู้คนทั่วโลก
จนได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองท่องเทียวอันดับ 1 สามปีซ้อน

วันนี้ลองออกไปเดินเล่น ชื่นชมกับอาหารตาสวยงามรอบตัว
จากนั้นแวะพักทานอาหารอร่อยๆ ที่เรียงรายให้คุณลิ้มลองรอบกรุง
เพียงเท่านี้ ความสุขก็ล้นปรี่แล้ว

Tuesday 4 September 2012

ยุติ รื้อไม้อัมพวา


ชุมชนจี้ปรับแบบรร.ค้ำอัมพวา

ผู้ประกอบการเปิดทางยอมยุติรื้อถอนบ้านริมคลอง 12 หลัง เพื่อสร้างความสบายใจแก่ทุกฝ่าย ส่วนจะยกเลิกโครงการไปทั้งหมดหรือไม่ขอฟังเสียงประชาชน อ้างทำด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อพัฒนาอัมพวา

          กระแสต่อต้านโครงการ "ชูชัยบุรี ศรีอัมพวา" มูลค่าโครงการกว่า 500 ล้านบาท ของนายชูชัย ชัยฤทธิเลิศ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าอัญมณี ถูกวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านจากฝ่ายอนุรักษ์และเครือข่ายประชาคมคนอัมพวา ในการรื้อบ้านและห้องแถวไม้ริมคลองอัมพวา 12 ห้อง อายุเก่าแก่เกือบ 100 ปี ส่งผลให้ตัวแทนจากหลายฝ่ายประกอบด้วย นายสรรชัย อารยะอัศนี นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา, รศ.ดร.ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ และรศ.ดร.วรรณศิลป์ พีรพันธ์ จากคณะสถาปัตกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่ริเริ่มฟื้นฟูและส่งตลาดน้ำอัมพวาเข้าประกวดมรดกโลกทางวัฒนธรรมจนได้รับรางวัลชมเชยจากยูเนสโก, ผู้นำชุมชนอัมพวา และนายชูชัยได้หารือร่วมกัน ที่ห้องประชุมศูนย์สาธารณสุขเทศบาลตำบลอัมพวา เพื่อหาทางออก 

นายชูชัย กล่าวว่า โรมแรมที่กำลังจัดสร้างขณะนี้ เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว มีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดคือกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป ซึ่งชอบวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพราะมีการจัดพื้นที่ไว้ให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้นำสินค้ามาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ส่วนการรื้อถอนห้องแถวเรือนไม้ริมคลองทั้ง 12 ห้อง เพราะสภาพบ้านขณะนี้ผุพังจนไม่สามารถปรับปรุงซ่อมแซมได้ ซึ่งตนมีแนวคิดจะสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับของเดิมอยู่แล้ว แต่เมื่อชาวบ้านไม่เห็นด้วยก็ยินดีที่ยกเลิกการรื้อถอนทั้ง 12 ห้อง เพราะถือเป็นสมบัติของชาติ  
          "การวิพากษ์วิจารณ์และโพสต์ข้อความต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตด้วยถ้อยคำรุนแรง ทำให้ผมและครอบครัวเสื่อมเสียชื่อเสียง ภาพที่ปู่ยา ตายาย นำดอกไม้ไปวางที่บริเวณห้องแถวเรือนไม้ริมคลองเพื่อไว้อาลัย เห็นแล้วร้องไห้ และเสียใจเป็นอย่างมาก ผมไม่ได้โกรธเคืองใคร แต่สิ่งที่อยากอธิบายก็คือ ที่ทำลงไปเพราะต้องการสร้างความเจริญให้แก่คนอัมพวามากกว่า ขอยืนยันว่า ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะทำร้ายอัมพวาและคนอัมพวาแต่อย่างใด" นายชูชัย  กล่าวหนักแน่น
          นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายนี้ย้ำอีกว่า แม้ห้องแถวทั้งหมดจะเป็นสมบัติของตนจากการซื้อที่ดินมา แต่เมื่อเกิดความรู้สึกหวงแหนจากคนในท้องถิ่นก็เห็นว่าควรจะคืนสมบัติให้แก่แผ่นดิน แต่ต้องมาพิจารณาว่า จะทำอย่างไร ห้องแถว 12 ห้อง ซึ่งมีค่าดั่งทองก็ยังอยู่ แต่ว่าจะอยู่ตรงที่เดิมหรือตรงไหนก็ต้องมาหารือกัน หรือหากไม่ต้องการให้สร้างเทวสถาน หรือคิดว่าโครงการที่ตนกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นี้ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อกฎหมาย ก็ยินดีที่จะชะลอการก่อสร้างไว้ก่อนจนกว่าจะหาข้อยุติได้ แม้ว่าจะเสียเงินไปจำนวนมหาศาลก็ตาม
          "จะบอกชาวอัมพวาว่า ชูชัยคนนี้เข้ามาด้วยเจตนาบริสุทธิ์และอยากมอบความรักให้ทุกๆ คน และอยากให้คนอัมพวาอ้าแขนรับและให้โอกาสผม หากผมมาเป็นคนอัมพวาแล้วชาวบ้านไม่เห็นด้วยและไม่ต้อนรับก็คงจะไม่มีความสุข เงินไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับผม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องให้ทุกคนสบายใจและอยู่ในพื้นฐานของความถูกต้องและคุณธรรม คนไทยต้องรักกัน ให้อภัยกัน ขอบคุณซึ่งกันและกัน" นายชูชัยกล่าวเสียงสะอื้นน้ำตานองหน้า








นายกอัมพวาบอกผังเมืองเดิมหมดอายุ

          เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่จะยกเลิกโครงการนี้ นายชูชัยย้ำว่า ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่ให้ทำ ก็พร้อมที่จะหยุดโครงการไป เรื่องนี้ถือเป็นกรณีศึกษาสำหรับคนที่จะเข้ามาดำเนินการ ต้องไม่เข้าไปทำลายสิ่งต่างๆ ในสังคม เงินทองที่เสียไปไม่ได้มีค่าอะไรมากมายเท่ากับการมีคุณธรรมและทำให้คนทั้งประเทศสบายใจ 
          ด้าน นายสรรชัย อารยะอัศนี นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา กล่าวว่า การหารือร่วมกันในวันนี้สะท้อนว่า ผู้ลงทุนพร้อมที่จะทบทวนและลดในสิ่งที่จะทำให้ท้องถิ่นไม่สบายใจลง ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากผังเมืองรวมเดิมหมดอายุ จึงเป็นช่องว่างในการที่จะก่อสร้างโรงแรมขึ้น ทางออกเรื่องนี้คือการนำเอาเทศบัญญัติมาบังคับใช้ในกรณีของการจัดทำสิ่งปลูกสร้างที่จะมีผลต่อท้องถิ่น  เพื่อขีดกรอบการลงทุน ซึ่งตรงนี้เทศบาลจะไปเร่งออกเป็นข้อกำหนดต่อไป
          "ตอนนี้ตลาดน้ำอัมพวาไม่ใช่ของคนอัมพวา แต่เป็นของคนทั้งประเทศ เพราะนี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะรองรับคนต่างประเทศได้ในอนาคต เทศบัญญัติที่จะออกมาจะทำให้เรารักษาวัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้างที่เป็นเรือนไม้ชายคลองต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมาความล่าช้าในการออกเทศบัญญัติ เนื่องจากเป็นกฎหมายต้องใช้เวลาอยู่บ้างในการทำประชาพิจารณ์" นายกเทศมนตรีตำบลอัมพวา  กล่าว

กลุ่มอนุรักษ์จี้ทุกฝ่ายพูดความจริง

          ส่วน รศ.ดร.ศิริวรรณ กล่าวว่า จากการพูดคุยกันในวันนี้ได้บรรยากาศที่ดี โดยเฉพาะการที่นายชูชัยยอมรับจะทบทวนโครงการก่อสร้าง ถือว่าเป็นการหาทางออกร่วมกันในมิติที่พึ่งพา  แสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างที่จะรับฟังท่าทีจากชุมชนในท้องถิ่น 
          "เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดี ยังมีเวลาพูดคุยกันว่า สิ่งที่ทางโรงแรมทำไป อะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่เข้ากับวิถีชีวิตคนอัมพวาก็ต้องมาปรับแบบ ปรับความสูงของตัวอาคาร เพื่อให้สอดคล้องเป็นเรื่องที่ดีที่พูดคุยกันได้" รศ.ดร.ศิริวรรณ กล่าว
          นายวิทยา สังข์คุ้ม ตัวแทนภาคประชาชนใน อ.อัมพวา กล่าวว่า  ประชาชนในอัมพวาไม่ต้องการตึกหรู ขัดกับวิถีชีวิตคนในท้องถิ่น แต่เมื่อมีการก่อสร้างโครงการนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็ขอให้แก้รูปแบบที่เข้ากับวิถีชีวิต เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาคมคนรักแม่กลองได้ส่งหนังสือคัดค้านการจัดประชุม “เจรจาและทำความเข้าใจ” ในวันนี้ (3 ก.ย.) เนื่องจากไม่มีความชอบธรรมและมีลักษณะไม่ชอบมาพากลหลายประการ เราต้องการให้สังคมตระหนักว่า การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวแบบไร้ทิศทางไม่เคารพวิถีชีวิตของชุมชน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายอัตลักษณ์ชุมชน ทั้งยังเป็นการลดทอนคุณค่าในแง่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมริมคลองอัมพวาอีกด้วย จึงขอเรียกร้องให้เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการอนุมัติและดำเนินโครงการอย่างตรงไปตรงมา

รังสิมาเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

          น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นตัวแทนจากฝ่ายการเมืองเข้าร่วมหารือในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า จากการดูข้อมูลที่นายชูชัยนำมาเปิดเผยต่อที่ประชุม ซึ่งมีทั้งภาพถ่าย สไลด์ นำตัวแทนผู้เขียนแบบ นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรม และหลักฐานการทำประชาพิจารณ์ในชุมนุมจำนวน 103 คน ซึ่งมีคนไม่เห็นด้วยเพียง 30 คน หลังจากร่วมฟังข้อมูลทั้งหมด เห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นจากนายชูชัยทำประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนในชุมนุมได้รับรู้เกี่ยวกับโครงการนี้น้อยเกิน เชื่อว่าถ้ามีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับประชาชนมากกว่านี้ เสียงคัดค้านน่าจะน้อยกว่านี้
          "จากที่ฟังเป็นโครงการที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมนุม แต่อาจมีบางเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการนำศิลปะตะวันตก เช่น ศิวลึงค์ มาจัดในพื้นที่เทวสถานภายในอาคารสถานที่อาจขัดกับความเชื่อ วัฒนธรรม จารีตประเพณีของคนในพื้นที่ เรื่องนี้คุณชูชัยต้องพูดคุยและแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชนให้มากขึ้น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างได้" น.ส.รังสิมากล่าว
          ส.ส.สมุทรสงคราม กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่านายชูชัยทำเรื่องถูกกฎหมายทุกประการ ทำให้ไม่สามารถไปดำเนินการอะไรได้ ได้แค่ติดตามการก่อสร้างว่าจะออกมารูปแบบใด ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างได้ดำเนินไปแล้วกว่า 70% ซึ่งนายชูชัยรับปากว่าการหารือครั้งหน้าจะแจ้งหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ให้ทราบล่วงหน้า เพราะการประชุมในวันนี้เป็นการแจ้งกะทันหัน เพราะได้รับแจ้งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชนมาร่วมรับฟังน้อย เพียงร้อยกว่าคนเท่านั้น

ส.ว.แม่กลองรับเป็นคนกลางเคลียร์ปม

          นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ทราบมาว่าการก่อสร้างโรงแรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุญาตให้ก่อสร้าง เช่น เทศบาล โยธาธิการและผังเมือง เจ้าท่า พ.ร.บ.โรงแรม ออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะต้องดูว่าการยื่นแบบเพื่อขอก่อสร้างทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ได้เสนอแนะแบบหรือแนวทางการก่อสร้างให้เข้ากับชุมชนในท้องถิ่นอย่างไร และทำความเข้าใจกับฝ่ายนักลงทุนและฝ่ายที่ตั้งข้อสังเกตเพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันโดยไม่ต้องไปจบลงที่ศาล อย่าลืมว่าทางยูเนสโกยกให้อัมพวาเป็นมรดกแห่งเอเชีย
          "เรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนสำหรับองค์กรท้องถิ่นที่ไม่คิดจะร่างกฎหมายขึ้นมารองรับความเจริญเติบโต ที่เข้ามาในชุมนุมอย่างรวดเร็วจนคนในชุมนุมไม่พร้อมจะตั้งรับ ผังเมืองก็หมดอายุ จะมีก็เพียง พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร กรณีของอัมพวาครั้งนี้ถือเป็นบทเรียนที่ต้องเรียนรู้ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือต้องร่างข้อบัญญัติปกครองท้องถิ่นมาเป็นภูมิคุ้มกันไว้ และเท่าที่ติดตามข่าวก็เชื่อว่านักลงทุนมีเจตนาดี แต่ไม่เข้าใจภูมิหลังภูมิถิ่นของชุมชน" ส.ว.แม่กลอง กล่าว
          ส.ว.สมุทรสงคราม กล่าวต่อว่า ควรหาคนกลาง เช่น กรรมการสิทธิมนุษยชน หรือกรรมการธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเข้าไปตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง เป็นการทำงานเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ โดยให้ดูที่เจตนาของผู้ก่อสร้าง หรือสามารถบรรเทาแก้ไขอะไรได้บ้าง เพื่อหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ซึ่งตนยินดีจะให้ข้อมูล
          นายธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนสารคดี ได้เขียนข้อความชี้แจงในเฟซบุ๊กว่า เราไม่ได้ต่อต้านความตั้งใจทำสิ่งดีๆ เพื่อชุมชนอัมพวาของนายชูชัย ทั้งศูนย์ศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านหรือจะเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมตะวันตก หรือกระทั่งรูปเคารพศิวลึงค์ แต่เราต่อต้านการออกแบบอาคารซึ่ง “ผิดที่ผิดทาง” อันนำมาซึ่งทัศนะอุจาด ทำลายอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม อันเป็นหลักการสากลที่นานาอารยประเทศยอมรับ แต่คุณชูชัยเน้นพูดเรื่องการตัดสินใจไม่รื้อเรือนไม้ 12 หลัง ทั้งๆ ที่เป็นปลายเหตุ ดังนั้นการปล่อยให้มีการสร้างอาคาร ตามโครงการชูชัยบุรี ศรีอัมพวา เป็นประเด็นที่องค์กรบริหารส่วนปกครองท้องถิ่นอัมพวาต้องพิจารณาแสดงความรับผิดชอบ